Wednesday, 24 September 2008

You can called this book "101"





โปรเจ็คต์หนังสือเล่มนี้ใช้เวลาไม่ตำ่กว่า 3 ปีี ทั้ง content และงาน editorial design
สุดท้ายก็ออกมาอย่างที่เห็น ผลงานของวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร ที่เขียนเองถ่ายรูปเอง แบบประชดประชันนิดๆ ไม่ถึงกับเอาตาย เนื้อหาว่าด้วยของที่พวกเรา (อาจจะหมายถึงคนยุควิจิตร) หลงลืมๆไปบ้าง ว่ามันเคยมีอยู่จริงและน่าคิดถึงชะมัด ของบ้านๆ ไทยๆ เชยๆ เปิ่นๆ หาดูได้ยากในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ แน่นอนว่าที่ต้องออกแบบให้ได้ทั้งไทยๆ ใหม่ๆ นี่ยากเย็นใช่เล่น โดยเฉพาะขั้นตอนการเสาะสแวงหารูปเพิ่มเติมที่คุณภาพภาพที่คนเขียนเตรียมมาให้ไม่ดีพอที่จะใช้่พิมพ์ (หมายถึงความละเอียดภาพ - ไม่ใช่ฝีมือการถ่าย) หนังสือเล่มนี้ใช้แรงงานเยอะมาก แต่ในที่สุดก็ออกวางจำหน่่ายแล้ว ตาม ASIA BOOKS พิมพ์โดย Corporation 4d (art4d)
ความหนา 352 หน้า พิมพ์สี่สีทั้งเล่ม สองภาษา ไทยและอังกฤษ ปกอ่อนแต่พยายามทดลองให้เข้าเล่มสันโค้งเหมือนปกแข็ง ปกมี 2 แบบให้เลือก คือแบบที่พิมพ์ลงบนด้านที่เป็นส่วนที่เค๊าไม่พิมพ์กันของกระดาษหลังขาว ส่วนอีกแบบคือแบบเตลือบลามิเนตด้าน ชอบแบบไหนอยู๋ที่รสนิยมของแต่ละท่าน เชิญหาซื้อได้แล้ววันนี้่

Wednesday, 17 September 2008

transforming public spaces identity & promotional material







Transforming Public Spaces เป็นโปรเจ็คต์ข้ามปี ที่ art4d ร่วมกับบริติช เคานซิล ประเทศไทย ต้องการเป็นตัวกลางที่จะทำหน้าที่ประกวดความคิดสร้างสรรค์สำหรับคนที่อยากเห็นกรุงเทพฯเกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โปรเจ็คต์นี้ถูกคิดกันหลายตลบกว่าจะมาสรุปได้อย่างที่เห็นใน www.changebangkok.com

ส่วนที่ต้องดูแลตั้งแต่แรกเลยก็ตือ ออกแบบโลโก้สำหรับโปรเจ็คต์นี้ขึ้นมา ในชื่อ transforming public spaces
ที่ตั้งใจไว้เลยก็คือ โลโก้ ตัวนี้จะไม่มีแบบตายตัว เปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวไปได้เรื่อยๆ แล้วแต่การเอาไปใช้
ลูกศรที่เห็นเอามาจากลูกศรที่อยู่ในสัญลักษณ์ของเครื่องหมาย recycle มาแตกออกและเชื่อมกันใหม่ นอกจากใช้เป็นส่วนหนึ่งของโลโก้แล้ว ลูกศรพวกนี้เลยกลายเป็น visual หลักสำหรับสื่ออื่นอย่างพวกโปสเตอร์ เว็บไซต์และพวกเสื้อยืด แน่นอนว่าลูกศรที่โผล่ออกมาในแต่ละสื่อหน้าตาก็จะต่างกันไปตามสมควร ความจริงแล้วในเว็บต้องการให้มันเลื่อนไปเลื่อนมามากกว่านี้ แต่เป็นที่ปัญหาทางเทคนิคและเวลา (ไม่ได้อ้่าง) ทำให้ออกมาหน้่าตาเป็นแบบที่เห็น

ส่วนใครที่สนใจจะร่วมเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ก็อย่ารอช้า ลองคลิกเข้าไปดูได้ที่ www.changebangkok.com หมดเขตรับไอเดีย วันที่ 1 ธันวาคมนี้